Basic Search คือ ??? เครื่องมือหรือโปรแกรม (Search Engine) ที่ช่วยเหลือในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต สามารถสืบค้นได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้ระบบการสืบค้นข้อมูลจากทุกคำของข้อมูลจริง (Full Text Search) และสนับสนุนการสืบค้นโดยกำหนดเงื่อนไขบูลีนอย่างง่าย เริ่มต้นเข้าสู่ระบบการสืบค้นข้อมูล Basic Search ก่อนเริ่มการใช้งาน Basic Search ผู้ใช้งานควรทำความรู้จักกับเครื่องมือของ Basic Search กันก่อน ส่วนประกอบต่างของ Basic Search 1.ช่องเติมคำที่ต้องการค้นหา (Search Box) : สำหรับเติมคำสำคัญ (Keywords) ที่ท่านต้องการค้นหา 2.ปุ่มค้นหา (Search Button) : เริ่มทำการค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญที่ผู้ใช้กำหนดไว้ในช่องเติมคำที่ต้องการค้นหา 3. คู่มือแนะนำการใช้งาน Basic Search : คู่มือแนะนำการใช้งาน Basic Search ซึ่งหมายถึงหน้านี้นั่นเอง 4. ค้นหาในหมวดหมู่อื่นๆ : ผู้ใช้สามารถเลือกให้ Basic Search ทำการค้นหาเฉพาะหมวดหมู่ที่สนใจก็ได้ |
|
วิธีการใช้งาน
Basic Search ผู้ใช้ Basic Search สามารถเริ่มต้นสืบค้นข้อมูลได้ โดยทำตามขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
|
การแสดงผลลัพธ์การค้นหา ผลลัพธ์ที่ Basic Search แสดงออกมา ประกอบด้วย 1. แถบแสดงผลด้านบน (Top Status Bar) : แสดงจำนวนผลลัพธ์ของหน้าเอกสารที่ค้นพบและตำแหน่งหน้าที่กำลังแสดงผล และสามารถ click เข้าไปดูหน้าที่อื่นที่ต้องการได้ห 2. หัวเรื่อง (Title) : แสดงชื่อหัวเรื่องของข้อมูล ผู้ใช้สามารถ เข้าไปดูรายละเอียดของข้อมูลจริงได้ โดยการ click ที่หัวเรื่อง 3. รายละเอียด (Description) : แสดงรายละเอียดของข้อมูลอย่างคร่าวๆ โดยในรายละเอียดนี้ จะเน้นคำสำคัญด้วยตัวอักษรสี เพื่อให้สะดุดตา และ ถ้ารายละเอียดใดแสดงด้วยเครื่องหมาย "..." หมายถึง รายละเอียดของข้อมูลได้ถูกตัดทอนมา เพื่อแสดงเฉพาะส่วนที่เป็นคำสำคัญ การแสดงผลจะแบ่งเป็นหัวข้อ ตามนี้คือ ชื่อหัวเรื่อง,ข้อกฎหมาย,เลขที่หนังสือ และ วันที่ 4. แถบแสดงผลด้านล่าง (Lower Status Bar) : แสดงเพียงตำแหน่งของหน้าที่ผู้ใช้อยู่ และ ปุ่ม click ไปดูหน้าถัดไป |
|
นอก จากนี้ Basic Search ยังสนับสนุนการสืบค้นข้อมูลแบบกำหนดเงื่อนไขบูลีนอย่างง่ายๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานที่ต้องการข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง และตรงความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยเงื่อนไขบูลีนที่ Basic Search สนับสนุนมีดังต่อไปนี้
1.การใช้สัญลักษณ์เครื่องหมาย บวก ("+") หรือ เครื่องหมาย ลบ ("-") ผู้ใช้จำเป็นต้องเขียนนำหน้าคำสำคัญ และ วางไว้ชิดคำสำคัญเสมอ ยกตัวอย่างเช่น +ภาษี -ธุรกิจ ,-นิติบุคคล ซ้ำซ้อน,+ธุรกิจ +สรรพากร -งาน -อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น 2 .การใช้คำสำคัญ (Keywords) มากกว่า 1 คำ จะทำให้ผลลัพธ์การค้นหาจำเพาะเจาะจงยิ่งขึ้น ได้ผลตรงความต้องการของผู้ใช้ยิ่งขึ้น นั่นคือ ถ้าหากผู้ใช้ยิ่งระบุคำสำคัญมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ผลลัพธ์จากการค้นหามีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการผู้ใช้มากขึ้นเท่านั้น โดยอันดับการวางตำแหน่งของคำสำคัญก่อนหลัง จะไม่มีผลแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น +ภาษี -ซ้ำซ้อน กับ -ซ้ำซ้อน +ภาษี จะได้ผลลัพธ์ที่ตรงกัน 3 .โดยปกติ Basic Search จะถือว่า การระบุคำสำคัญมากกว่า 1 คำ โดยไม่กำกับเครื่องหมายบูลีนตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น หมายถึง หรือ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ระบุ ภาษี ซ้ำซ้อน หมายถึงการสั่งให้ค้นหาเอกสารที่มีคำว่าภาษีหรือซ้ำซ้อน คำใดคำหนึ่ง หรือ ทั้งสองคำ 4 .หากผู้ใช้งาน Basic Search แล้วไม่พบเอกสารตามที่ระบุในช่อง search box อาจเนื่องมาจากหลายกรณีเช่น |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น